วันพฤหัสบดีที่ 16 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2560

เพลงเชียร์สโมสร : เชลซี

เพลง : Blue Day


เนื้อเพลง
The only place to be Every other Saturday Is strolling down the Fulham Road Meet your mates and have a drink Have a moan and start to think Will there ever be a blue tomorrow? 
*We've waited so long But we'd wait for ever Our blood is blue and We would leave you never And when we make it It'll be together, oh oh oh 
**Chelsea, Chelsea We're gonna make this a Blue Day Chelsea, Chelsea We're gonna make this a Blue Day 
We've got some memories Albeit from the Seventies when Ossie and co. restored our pride Now we've got hope, and a team suddenly it's not a dream We'll keep the Blue Flag flying high 
[*,**] 
Now even Heaven Is blue today, You should hear the Chelsea roar Hear the Chelsea roar... 


ขอขอบคุณข้อมูลจาก http://www.chelsea.in.th/forum/viewtopic.php?f=1&t=26550

เพลงเชียร์สโมสร : ลิเวอร์พูล


YNWA : You'll Never Walk Alone




ประวัติ

You'll Never Walk Alone ประพันธ์ดนตรีโดย Richard Rodger เนื้อร้องโดย Oscar Hammerstein II แต่งขึ้นพื่อใช้ในการแสดงละครเพลงบอร์ดเวย์เรื่อง Carousel ในปี 1945 เนื่องด้วยความหมายอันลึกซึ้งเปี่ยมไปด้วยพลังเพลงนี้ คุณจะไม่มีวันเดินอย่างเดียวดาย จึงได้รับการนำมาเป็นเพลงประจำสโมสรของทีม"ลิเวอร์พูล" หรือที่คนไทยเรียกพวกเขาว่า "หงส์แดง" และตลอดหลายศตวรรษที่ผ่านมา เมื่อใดที่"ลิเวอร์พูล"ลงทำการแข่งขัน แฟนคลับของพวกเขาจะร่วมร้องเพลงนี้เป็นมาตรฐานเดียวกันกระหึ่มสนามทุกครั้งไป

You'll Never Walk Alone นอกจากกลายเป็นประวัติศาสตร์อันเป็นเอกลักษณ์ของทีมฟุตบอลในเครือจักรภพอังกฤษแล้ว เพลงนี้ได้สร้างแรงบันดาลใจมากมายในช่วงเวลาแห่งภยันตรายทั้งหลาย และยังทำหน้าที่ปลุกปลอบใจเป็นกำลังสำคัญให้องค์กรการกุศลต่างๆได้นำไปใช้ สำหรับในเวอร์ชั่นนี้เป็นผลงานของ The Lettermen
และผู้ที่ทำให้เพลงนี้ประสบความสำเร็จมากที่สุดจากออริจินอลของ Gary & The Pacemakers จนกล่าวกันว่าเป็นวงที่ประสบความสำเร็จสูงสุดจากเมืองลิเวอร์พูล ก่อนที่ชาวโลกจะรู้จัก เดอะ บีตเทิ่ลส์ 
ด้วยศรัทธาและเชื่อมั่น You'll never walk alone ยังคงเป็นตำนานตราบเท่าที่เหล่าสาวก ยังคงร้องมันเพื่อปลุกปลอบความเข้มแข็ง เราคือลิเวอร์พูล...."คุณจะไม่มีวันเดินอย่างเดียวดาย"

เนื้อเพลง

When you walk through a storm,
Hold your head up high,
And don't be afraid of the dark,
At the end of a storm, there's a golden sky,
And the sweet silver song of a lark.
Walk on through the wind,
Walk on through the rain,
Though your dreams be tossed and blown...
Walk on, walk on, with hope in your heart,
And you'll never walk alone,
You'll never walk alone...
Walk on, walk on, with hope in your heart,
And you'll never walk alone,
You'll never walk alone...
อ้างอิงจาก https://www.siamzone.com/music/lyric/35343

เพลงเชียร์สโมสร : แมนเชสเตอร์ ยูไนเต็ด

เพลง : Glory Glory Man United  
 

 
แต่งเมื่อ : ค.ศ.1983 (ปล่อยเพลงมาก่อนทีมลงเตะรอบชิงฯเอฟเอ คัพ กับ ไบรจ์ตัน)
เขียนเนื้อร้อง : แฟร้งค์ เรนชอว์ 
 
Glory glory Man united, 
Glory glory Man united, 
Glory glory Man united, 
As the reds go marching on on on! 
 
Just like the busby days and days gone by, 
We'll keep the red flags flying high, 
You're gonna see us all from far and wide, 
You're gonna hear the Mans that sing with pride. 
 
United, Man united, 
We're the boys in red and we're on our way to Wembley! 
 
Wembley, Wembley, 
We're the famous Man united and we're going to Wembley, 
Wembley, Wembley,  
We're the famous Man united and we're going to Wembley  
 
In '77 it was Docherty,
Atkinson will make it '83,  
And everyone will know just who we are,  
They'll be singing que sera sera  
 
United, Man united, 
We're the boys in red and we're on our way to Wembley! 
 
Wembley, Wembley, 
We're the famous Man united and we're going to Wembley, 
Wembley, Wembley, 
We're the famous Man united and we're going to Wembley 
 
Glory glory Man united, 
Glory glory Man united, 
Glory glory Man united, 
As the reds go marching on on on! 
 
Glory glory Man united, 
Glory glory Man united, 
Glory glory Man united, 
As the reds go marching on on on! 
 
Glory glory Man united, 
Glory glory Man united, 
Glory glory Man united, 
As the reds go marching on on on! 

ขอขอบคุณข้อมูลจาก www.glory-manutd.com

วันอังคารที่ 14 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2560

Stadium Info : Manchester United

"Old Trafford"



ที่ตั้ง : เซอร์แมตต์ บัสบีเวย์ โอลด์แทรฟฟอร์ด เกรตเตอร์ , แมนเชสเตอร์
พิกัด : 53°2747N 2°1729W พิกัดภูมิศาสตร์: 53°2747N 2°1729W
เจ้าของ : แมนเชสเตอร์ ยูไนเต็ด
ผู้ดำเนินการ : แมนเชสเตอร์ ยูไนเต็ด
พื้นสนาม : เดสโซกราสมาสเตอร์
ความจุ : 75,635
สถิติผู้ชม : 76,962 (วุลเวอร์แฮมป์ตันวอนเดอเรอส์ vs กริมสบีย์ทาวน์, 25 มีนาคม ค.ศ. 1939)
ขนาดสนาม : 105 x 68 เมตร(114.8 × 74.4 หลา)


History

ย้อนกลับไปกว่าหนึ่งศตวรรษที่แล้ว "แทร็ฟฟอร์ด ปาร์ค" ซึ่งตอนนั้น มีสถานะเป็นเพียงผืนแผ่นดินว่างเปล่าบนนิคมอุตสาหกรรม แทร็ฟฟอร์ด พาร์ค ถูกซื้อด้วยเงินจำนวน 60,000 ปอนด์ และนำมาเนรมิตให้กลายบ้านแห่งใหม่ของสโมสร สนาม "โอลด์ แทร็ฟฟอร์ด" ที่ทุกวันนี้ได้แปรสภาพเป็นหนึ่งในสนามฟุตบอลชั้นดีที่สุดในโลกของเมืองแมนเชสเตอร์ ประเทศอังกฤษ มีความจุผู้ชมได้ สูงถึงกว่า 80,000 คน และนี่คือเรื่องราวทั้งหมดของ "โรงละครแห่งความฝัน" หรือ "Theatre of Dream"
เมื่อครั้งที่สมัยยอดทีมอย่าง แมนเชสเตอร์ ยูไนเต็ด ยังใช้ชื่อเดิมว่า "นิวตัน ฮีธ" พวกเขายังเป็นเพียงสโมสรฟุตบอลเล็กๆ ทีมหนึ่ง ซึ่งได้เข้าร่วมแข่งขัน ฟุตบอลลีกในปี 1892 และมีสนามเหย้าที่เข้าขั้นแย่ที่สุดอย่าง "นอร์ท โร้ด" ในมอนซอลล์ ซึ่งสนามมีสภาพราวกับปลักโคลน และห้องแต่งตัวก็อยู่ห่างไกลออกไปกว่าครึ่งไมล์ที่ผับ ทรีคราวน์ส
อย่างไรก็ตาม แม้จะได้ย้ายสนามจาก "นอร์ท โร้ด" มาสู่ "แบงค์ สตรีท" นั้น แต่ทั้งสองสนามก็มีสภาพไม่แตกต่างกันมากนัก และก็ยังถูกวิพากษ์วิจารณ์กันว่าพื้นสนามนั้นย่ำแย่มากเช่นเดิม ด้วยเหตุนี้ ประธานสโมสร จอห์น เดวี่ส์ จึงได้ตัดสินใจย้ายห่างจากตัวเมืองไปอีก 5-6 ไมล์ ที่นั่นคือ "แทร็ฟฟอร์ด พาร์ค" ย่านชานเมือง แมนเชสเตอร์
"โอลด์ แทร็ฟฟอร์ด" เริ่มออกมาให้ได้ยินกันเป็นครั้งแรกในระหว่างฤดูกาล 1909/10 โดยพื้นที่ซึ่งใช้ในการสร้างสนามนั้นซื้อโดยบริษัทแมนเชสเตอร์ บริวเวอรี่ (จอห์น เฮนรี่ เดวี่ส์) และให้สโมสรเช่าต่ออีกที เดวี่ส์เองเป็นคนจ่ายเงินค่าก่อสร้างด้วยเงินจำนวน 60,000 ปอนด์ ซึ่งเริ่มต้นขึ้นในปี 1908 ภายใต้การควบคุมของอาร์ชิบัลด์ ลีทช์ สถาปนิกชื่อดัง เมื่อย่างเข้าปี 1910 สโมสรก็ขนย้ายข้าวของจากสนามเดิมที่แบงค์สตรีทเข้ามาปักหลักที่นี่แทน และเนรมิตให้กลายบ้านแห่งใหม่ของสโมสร สนาม "โอลด์ แทร็ฟฟอร์ด" มีความจุผู้ชมได้สูงถึง 80,000 คน

โอลด์ แทรฟฟอร์ด เมื่อปี ค.ศ.1926
"โอลด์ แทร็ฟฟอร์ด" เริ่มเปิดประตูต้อนรับแฟนบอลเป็นครั้งแรกเมื่อวันที่ 19 กุมภาพันธ์ ปี ค.ศ. 1910 แต่ก็เป็นความทรงจำที่ไม่ค่อยดีนักเมื่อทีมพ่ายให้กับ ลิเวอร์พูล 4-3 ในช่วงนั้นแฟนบอลส่วนใหญ่ต้องยืนดูเกมการ แข่งขัน แต่ก็ถือเป็นความความสำเร็จ ของสนามแห่งใหม่ที่สามารถรองรับคนดูได้ถึง 80,000 คนในเกมดังกล่าว ถึงยังเป็นสังเวียนฟาดแข้งที่ให้ความสะดวกสบาย แฝงด้วยความหรูหราโดยไม่มีสนามแห่งใดในยุคเดียวกันจะเทียบเท่าได้ ไม่ว่าจะในเรื่อง เก้าอี้พับเก็บได้ มีห้องจิบน้ำชา และคนคอยบริการชี้ทาง พาไปหาที่นั่ง พร้อมทั้งยังมีห้องเล่นเกม โรงยิม และอ่างอาบน้ำขนาดยักษ์ สำหรับนักเตะอีกด้วย
หลังจากรองรับฝูงชนมากหน้าหลายตามาเป็นระยะเวลา 30 ปี "โอลด์ แทร็ฟฟอร์ด" ก็ห่างหายจากเกมลูกหนังอยู่เกือบ 1 ทศวรรษเต็มๆ รวมถึงฟุตบอลลีก ต้องหยุดชะงักหลังเกิดสงครามโลกครั้งที่ 2 ในปี 1939 จากนั้นในคืนวันที่ 11 มีนาคม ปี ค.ศ. 1941 "โอลด์ แทร็ฟฟอร์ด" ก็ต้องพังทลายลงหลังโดนกองทัพอากาศของเยอรมัน ทิ้งระเบิดใกล้ๆ กับนิคมอุคสาหกรรม แทร็ฟฟอร์ด พาร์ค ระเบิดหลายลูกตกลงที่สนาม "โอลด์ แทร็ฟฟอร์ด" อัฒจันทร์ เมน สแตนด์ ถูกทำลายย่อยยับ เช่นเดียวกับตัวพื้นสนามก็ได้รับความเสียหาย ไปด้วย หลังสิ้นสุดสงครามรัฐบาลอังกฤษ ได้มอบเงินให้กับ แมนเชสเตอร์ ยูไนเต็ด จำนวน 22,278 ปอนด์ เพื่อบูรณะสนามขึ้นใหม่ ระหว่างนั้นเอง ทีมปีศาจแดงต้องย้ายไปเล่นที่ "เมน โร้ด" สนามของทีม แมนเชสเตอร์ ซิตี้ นานถึง 4 ปี
แมนฯ ยูไนเต็ด ต้องการสนามใหม่ที่ใหญ่กว่าเดิมเพื่อรองรับผู้ชมจำนวน 120,000 คน ให้ได้ แต่ท้ายที่สุดแล้ว พวกเขาไม่มีงบประมาณพอที่จะก่อสร้างได้ ซึ่งทำได้เพียงแค่สร้าง เมน สแตนด์ ขึ้นใหม่แทนที่ของเดิมที่ถูกทำลายเท่านั้น ในวันที่ 24 สิงหาคม ปี ค.ศ. 1949 ทีมปีศาจแดงได้กลับมายังถิ่นของพวกเขาอีกครั้ง ท่ามกลางฝูงชนกว่า 41,000 คน และสามารถเอาชนะ โบลตัน วันเดอเรอร์ส ได้ในเกมนัดแรกของรอบ 10 ปีที่กลับมาเล่น ณ สนามแห่งนี้


โอลด์ แทรฟฟอร์ด ปี 1950-1966

นับตั้งแต่ ปี ค.ศ. 1957 "โอลด์ แทร็ฟฟอร์ด" เริ่มสว่างไสวบนเวทีลูกหนังยุโรป เมื่อ แมนฯ ยูไนเต็ด ได้สิทธิเข้าร่วมการแข่งขันฟุตบอลยุโรป เกมกลางสัปดาห์ซึ่งต้องเล่นในช่วงเย็น นั่นหมายถึงพวกเขาต้องมีไฟสนาม และเกมนัดแรก ภายใต้แสงไฟคือก็คือเกมลีก เมื่อ 25 มีนาคม ปี ค.ศ. 1957 ในขณะที่ทีใหญ่อย่าง รีล มาดริด คือ ทีมแรกจากยุโรปที่มาเล่นภายใต้ไฟสนามใหม่ชั้นยอดที่นี่
นอกจากนั้น แฟนบอลรุ่นเก๋าคงยังจำได้ดีถึงความรู้สึกที่เปียกปอนไปด้วย เม็ดฝนพร้อมๆ กับนักเตะในสนาม เพราะอัฒจันทร์ "สเตรตฟอร์ด เอนด์" ชื่อดัง ไม่มีแม้หลังคาไว้บังแดดบังฝน จนกระทั้งใน ปี ค.ศ. 1959 การจัดแข่งขันฟุตบอลโลก ณ สนาม "โอลด์ แทร็ฟฟอร์ด" ทำให้สนามได้รับการปรับ ปรุงให้ทันสมัยมากขึ้นในช่วงยุค 60 อัฒจันทร์แบบแคนติลิเวอร์ (แบบอย่างต้นกำเนิดของอัฒจันทร์ในปัจจุบันที่ไม่ต้องใช้เสาค้ำยันให้บังทัศนียภาพในเกมการแข่งขัน) ถูกเปิดใช้ใน ปี ค.ศ. 1964 ด้วยงบประมาณในก่อสร้าง จำนวน 350,000 ปอนด์ ขณะที่แฟนบอลของ แมนเชสเตอร์ ยูไนเต็ด เริ่มเพิ่มมากขึ้นตามความจุของสนาม

โอลด์ แทรฟฟอร์ด ปี ค.ศ.1990

ใน ปี ค.ศ 1992 ประเพณีการยืนเชียร์เกมการแข่งขันฝั่ง "สเตรตฟอร์ด เอนด์" มาถึงจุดสิ้นสุดลง เมื่อมันถูกบูรณะใหม่และแทนที่ด้วยเก้าอี้นั่ง จนกระทั่งใน ปี ค.ศ. 1994 สนาม "โอลด์ แทร็ฟฟอร์ด" ก็กลายเป็นสนามที่นั่งทั้งหมดครั้งแรกในประวัติศาสตร์ โดยที่ความจุสำหรับแฟนบอลกลับลดลงไป ดังนั้นความจุแค่ 43,000 ที่นั่ง ย่อมไม่เพียงพอแน่ต่อความต้องการของแฟนบอลที่เพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ และเพื่อเป็นการแก้ไขปัญหานี้ อัฒจันทร์ ฝั่ง นอร์ท สแตนด์ ก็ถูกปรับปรุงใหม่ในฤดูกาล 1995/96 ถึงตอนนั้นความจุของสนามเท่ากับ 56,387 ที่นั่ง แต่มีแฟนบอลอีกจำนวนหนึ่ง ไม่พอใจเกี่ยวกับสแตนด์ใหม่นี้กับความสูงในระดับ 48 เมตร

โอลด์ แทรฟฟอร์ด ปี ค.ศ. 2000 

ในปัจจุบัน แมนฯ ยูไนเต็ด มีสนามใหญ่ที่สุดในประเทศอังกฤษ แต่มันก็ไม่ใช่เรื่องง่ายเลยกับค่าใช้จ่ายทั้งสิ้น 28 ล้านปอนด์ ยูฟ่าซึ่งเป็นองค์กรควบคุมเกมฟุตบอลของยุโรปเรียก "โอลด์ แทร็ฟฟอร์ด" ว่าเป็นสนามที่ดีที่สุดในอังกฤษ และใช้รองรับเกมการแข่งขันฟุตบอลยูโร 96 ถึง 5 นัด แต่ด้วยความสำเร็จในช่วงทศวรรษที่ 90 จำนวนแฟนบอลที่ต้องการเข้าชมเกมมีมากขึ้น ปลายฤดูกาล 1999/2000 อัฒจันทร์ฝั่ง อีสต์ สแตนด์ ได้ถูกปรับปรุงใหม่จนสามารถเพิ่มความจุผู้ชมเป็น 61,000 ที่นั่ง หลังจากนั้นต้นฤดูกาล 2000/01 อัฒจันทร์ฝั่ง สเตรตฟอร์ด เอนด์ ก็ได้ถูกปรับปรุงใหม่เช่นกันโดยเพิ่มที่นั่งเป็น 2 ชั้น จนกระทั่งปัจจุบันความจุของสนามสุทธิคือ 68,217 ที่นั่งมีขนาดใหญ่ที่สุดในบรรดาสโมสรฟุตบอลทั้งหมดในเกาะอังกฤษ

แม้จะครองสถิติเป็นสนามที่มีความจุใหญ่ที่สุดบนเกาะอังกฤษในปัจจุบัน แมนฯ ยูไนเต็ด ก็ยังมี แผนการขยายความจุผู้ชมของสนาม "โอล์ด แทรฟฟอร์ด" ในอนาคตให้เป็น 90,000 ที่นั่ง ที่มุมสนามทั้ง 2 มุม ของอัฒจันทร์ฝั่ง นอร์ท สแตนด์ ต่อกันกับ สเตรตฟอร์ด เอนด์ และ อีสต์ สแตนด์ โดยที่อัฒจันทร์ฝั่ง เซาธ์ สแตนด์ แต่การขยายความจุนั้นต้องถือว่าเป็นไปได้ยากเพราะอยู่ใกล้กับทางรถไฟ ซึ่งเคยมีผู้เสนอให้ขยายโดยสร้างอัฒจันทร์ชั้นที่ 3 คร่อมทางรถไฟ ซึ่งต้องใช้เทคโนโลยีทางวิศวกรรมสมัยใหม่และมีค่าใช่จ่ายที่สูงมาก
อย่างไรก็ตาม ด้วยจำนวนแฟนบอลที่เพิ่มขึ้นมากมายจากทั่วทุกมุมโลกที่ต่างปรารถนาจะมาชมเกมการแข่งขัน ณ โรงละครแห่งความฝัน ไม่แน่ว่าเราอาจได้เห็นรูปลักษณ์ใหม่ของ "โอล์ด แทร็ฟฟอร์ด" ในอนาคต ที่อาจเป็นสนามฟุตบอลแห่งแรกในโลกที่มีอัฒจันทร์คร่อมรางรถไฟก็เป็นได้


ขอขอบคุณข้อมูลจาก http://www.glory-manutd.com/


Stadium info : Wembley (FA National Stadium)


"Wembley Stadium"



ที่ตั้ง : ลอนดอน, ประเทศอังกฤษ
พิกัด : 51°33′21″N 0°16′47″W
พิกัดภูมิศาสตร์: 51°33′21″N 0°16′47″W
เจ้าของ : สมาคมฟุตบอลอังกฤษ
ผู้ดำเนินการ : Wembley National Stadium Limited
พื้นสนาม : เดสโซกราสมาสเตอร์
ความจุ : 90,000 (ฟุตบอล, รักบี้ลีก, รักบี้นานาชาติ)

สนามกีฬาเวมบลีย์ (อังกฤษ: Wembley Stadium มักเรียกสั้น ๆ ว่า เวมบลีย์ หรือในบางครั้งเรียกว่า นิวเวมบลีย์ เพื่อให้มีชื่อต่างจากสนามเดิมในที่ตั้งนี้) เป็นสนามฟุตบอลที่ตั้งอยู่ในเวมบลีย์พาร์ก ในเบรนต์ ประเทศอังกฤษ เปิดเมื่อปี 2007 ในสถานที่ตั้งเดิมของสนามเดิมที่สร้างในปี ค.ศ. 1923 สนามมีความจุ 90,000 ที่นั่ง ถือเป็นสนามกีฬาที่ใหญ่ที่สุดเป็นอันดับ 2 ในยุโรป และเป็นสนามเหย้าของฟุตบอลทีมชาติอังกฤษ โดยสนามเวมบลีย์นั้นได้มาตรฐานยูฟ่า โดยมีความจุประมาณ 90,000 ที่นั่ง และถ้าหากรวมการยืนชมด้วย จะมีความจุ 105,000 คน ซึ่งเป็นสนามที่ใหญ่เป็นอันดับที่สองของทวีปยุโรป รองจากสนาม กัมนอว์ของ สโมสรฟุตบอลบาร์เซโลนา และสนามเวมบลีย์นี้ ใช้ในเป็นสนามกีฬาแห่งชาติ ของ ทีมชาติอังกฤษ และเป็นสนามการแข่งขันนัดชิงชนะเลิศของการแข่งขันฟุตบอล เอฟเอคัพ โดยมีผู้ดูแลสนามคือ สมาคมฟุตบอลอังกฤษ
สนามเวมบลีย์ถูกออกแบบโดย สถาปนิก บริษัท ฟอสเตอร์แอนด์พาร์ทเนอร์ และ ป็อปปูลูออส (หรืออาจจะรู้จักกันในชื่อ ฮ็อก สปอร์ต กับ วิศวกร มอตต์ แม็คโดนัลด์ และสร้างโดย บรู๊กฟิลด์ มัลติเพล็กซ์ บริษัทจากออสเตรเลีย โดยสนามเวมบลีย์เป็นหนึ่งในสนามที่ใช้ทุนการก่อสร้างแพงที่สุดในโลก โดยการก่อสร้างนั้นใช้ทุนไปมากกว่า 798 ล้านปอนด์ และเป็นสนามที่มีหลังคาที่ใหญ่ที่สุดในโลก

พิธีเปิดสนาม
สนามเวมบลีย์ใหม่นี้ มีพิธีมอบให้ สมาคมฟุตบอลอังกฤษ เมื่อวันที่ 9 มีนาคม พ.ศ. 2550 โดยทางเว็บไซต์อย่างเป็นทางการของสนามเวมบลีย์ระบุว่า จะเปิดให้ประชาชนเข้าไปชมภายในสนามในวันที่ 3 มีนาคม พ.ศ. 2550 แต่สรุปแล้วก็เลื่อนออกไปอีก 2 สัปดาห์เป็นวันที่ 17 มีนาคม หลังจากมอบสนามให้สมาคมฟุตบอลอังกฤษเมื่อเดือนมีนาคม สนามนี้ก็ถูกใช้เป็นสนามการแข่งขันทันที โดยใช้ในการแข่งขัน เอฟเอคัพ2007 รอบชิงชนะเลิศ 8 วันหลังจากนั้น คือวันที่ 11 พฤษภาคม รูปปั้นของ บ็อบบี มูเร ได้ถูกเปิดตัวโดย เซอร์ บ็อบบี ชาร์ลตัน โดยนำมาไว้ที่หน้าทางเข้าของสนาม

ข้อมูลอื่นๆ
มีห้องน้ำ 2,618 ห้อง
รอบสนามมีความยาว 1 กิโลเมตร
ใช้คนงานในการก่อสร้าง 3,500 คน
ใช้สายเคเบิลยึดสนามยาวรวมทั้งหมด 56 กิโลเมตร
ใช้คอนกรีต 90,000 ม3 และใช้เหล็ก 23,000 ตัน
มีบันไดเลื่อนความยาว 400 เมตร

ทางเข้าสนามเวมบลีย์มีเส้นผ่านศูนย์กลางยาวกว่าทางเชื่อมต่อของรถไฟยูโรสตาร์


วันจันทร์ที่ 13 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2560

Stadium info : Chelsea

"Stamford Bridge"

พิกัด : 51°28′54″N 0°11′28″W
พิกัดภูมิศาสตร์ : 51°28′54″N 0°11′28″W
เจ้าของ : Chelsea Pitch Owners plc
ผู้ดำเนินการ  : สโมสรฟุตบอลเชลซีพื้นสนาม : หญ้าความจุ : 41,837
ขนาดสนาม : 103 x 67 เมตร (112.6 x 73.3 หลา) ที่ตั้ง : ฟูแล่ม, ลอนดอน


สนามสแตมฟอร์ด บริดจ์ เป็นสนามฟุตบอลที่ตั้งอยู่ในเขตฟูแล่ม กรุงลอนดอนประเทศอังกฤษ เป็นสนามเหย้าของทีมเชลซี เอฟซี สนามนี้ตั้งอยู่ภายในอสังหาริมทรัพย์ มัวร์ ปาร์ค หรือที่รู้จักดันดีในชื่อ วอแฮม กรีนและเรียกสั้นๆ ว่า เดอะ บิดจ์  เดอะ บริดจ์ มีความจุ 41,798 ที่นั่งเป็นสนามฟุตบอลที่ใหญ่เป็นอันดับที่ 8 ของพรีเมียร์ลีก อังกฤษ

เปิดใช้เมื่อปี 1877 สนามเป็นของทีม ลอนดอน แอธเลติก คลับจนกระทั่งปี 1905 เจ้าของคนใหม่ชื่อ กัส เมียร์สได้ก่อตั้งทีมเชลซี เอฟซีและเข้าครอบครองสนามแห่งนี้ เชลซีจึงใช้สนามสแตมฟอร์ด บริดจ์เป็นสนามเหย้าของทีมนับตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา สนามนี้เกิดการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่เมื่อช่วงทศวรรษที่ 1990 ทำให้กลายเป็นสนามที่ทันสมัยและอัฒจันทร์ก็กลายเป็นแบบมีที่นั่งทั้งหมด

สนามสแตมฟอร์ด บริดจ์ใช้เป็นสนามเหย้าของทีมชาติอังกฤษ เอฟเอคัพ นัดชิงชนะเลิศ เอฟเอฟคัพรอบรองชนะเลิศ และเกมแชริตี้ ชิลด์มาแล้ว ใช้เป็นสนามจัดแข่งกีฬาหลายประเภทเช่น คริกเก็ต, รักบี้ ยูเนี่ยน, สปีดเวย์, เกรย์เฮานด์, เบสบอลและอเมริกัน ฟุตบอล สนามมีสถิติผู้ชมมากที่สุดที่ 82,905 คน ในเกมลีกของทีมเชลซีพบอาร์เซนอลเมื่อวันที่ 12 ตุลาคม 1935 สถิติผู้ชมน้อยที่สุดคือมีผู้ชม 3,000 คนในเกมเชลซีพบลินคอล์นเมื่อปี 1906 แมทธิว ฮาร์ดิ้ง สแตนด์ หรือที่เมื่อก่อนเรียกกันว่า นอร์ธ สแตนด์ อยู่ทางทิศเหนือของสนาม ในปี 1939 มีความจุ 10,884 ที่นั่ง สแตนด์ด้านนี้ตั้งชื่อตามอดีตผู้อำนวยการเชลซี แมทธิว ฮาร์ดิ้งที่เป็นผู้ลงทุนให้กับทีมเมื่อช่วงต้นทศวรรษที่ 1990 เขาเสียชีวิตจากเหตุการณ์เครื่องบินตก เมื่อวันที่ 22 ตุลาคม 1996


วันอาทิตย์ที่ 12 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2560

Stadium info : Manchester City


"Etihad Stadium"

ที่ตั้ง : สปอร์ตซิตี, ถนนโรว์สลีย์ แมนเชสเตอร์, M11 3FF
พิกัด : 53°28′59″N 2°12′1″W พิกัดภูมิศาสตร์: 53°28′59″N 2°12′1″W
เจ้าของ : สภาเทศบาลเมืองแมนเชสเตอร์
ผู้ดำเนินการ สโมสรฟุตบอลแมนเชสเตอร์ซิตี
พื้นสนาม : เดสโซกราสมาสเตอร์
ความจุ : 47,805 – ฟุตบอลภายในประเทศ
47,726 – ฟุตบอลจัดโดยยูฟ่า
60,000 – คอนเสิร์ต และ มวย
38,000 – กีฬาเครือจักรภพ 2002
ขนาดสนาม : 105 × 68 เมตร (115 × 74 หลา)


สนามกีฬาซิตีออฟแมนเชสเตอร์ (อังกฤษ: City of Manchester Stadium) หรือเป็นที่รู้จักในชื่อ สนามกีฬาอัลติฮัด (อังกฤษ: Etihad Stadium) ด้วยเหตุผลตามชื่อผู้สนับสนุน หรือในบางครั้งอาจเรียกว่า คอมส์ (CoMS) หรือ อีสต์แลนส์ (Eastlands) เป็นสนามกีฬาในเมืองแมนเชสเตอร์ เป็นสนามกีฬาเหย้าของสโมสรฟุตบอลแมนเชสเตอร์ซิตี เป็นสนามกีฬาใหญ่เป็นอันดับ 5 ของทีมพรีเมียร์ลีก และใหญ่เป็นอันดับ 12 ในสหราชอาณาจักร มีจำนวนที่นั่ง 47,805 ที่
เดิมทีสนามกีฬามีวัตถุประสงค์สำหรับเป็นสนามแข่งกีฬาหลักในกีฬาโอลิมปิกฤดูร้อน 2000 ที่สหราชอาณาจักรพลาดการประมูลไป  จนได้ชนะการประมูลในการแข่งขันกีฬาเครือจักรภพ 2002 หลังจบการแข่งขันได้ลดความจุสนามจาก 80,000 คน ไปเป็น 50,000 คน สนามแห่งนี้ก่อสร้างโดยเลียงคอนสตรักชัน ด้วยงบประมาณ 112 ล้านปอนด์ โดยออกแบบโดยอารัปสปอร์ต

เพื่อแน่ใจว่าจะไม่ใช่โครงการที่เสี่ยง แมนเชสเตอร์ซิตีจึงตัดสินใจรับสนามกีฬาแห่งนี้แทนที่สนามกีฬาเก่า เมนโรด ทันทีที่การแข่งขันจบลง ก็ได้มีการเพิ่มที่นั่งลดหลั่นเจาะลงไปในลู่วิ่งเดิม[16] การปรับปรุงนี้ทางสภาเทศบาลเมืองแมนเชสเตอร์จ่ายไป 22 ล้านปอนด์ และแมนเชสเตอร์ซิตีจ่ายเพิ่มอีก 20 ล้านปอนด์ และเพิ่มที่จำหน่ายเครื่องดื่ม ร้านอาหาร และพื้นที่สันทนาการอื่น สโมสรย้ายเข้ามาใช้สนามแห่งใหม่ระหว่างช่วงฤดูร้อน ค.ศ. 2003

นอกจากแข่งขันกีฬาแล้ว ยังใช้จัดนัดแข่งขันยูฟ่าคัพ 2008 นัดการแข่งขันฟุตบอลทีมชาติอังกฤษ นัดแข่งขันรักบี้ระหว่างประเทศ แข่งขันมวย และคอนเสิร์ตอีกหลายคอนเสิร์ต

ประวัติ

แผนการก่อสร้างสนามกีฬาแห่งใหม่ในเมืองแมนเชสเตอร์เริ่มมีขึ้นก่อนปี ค.ศ. 1989 ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งที่เมืองประมูลในการเป็นผู้จัดการโอลิมปิกฤดูร้อน 1996 สภาเทศบาลเมืองแมนเชสเตอร์ได้เสนอการประมูลแบบสนามกีฬา 80,000 ที่นั่ง บริเวณพื้นที่สีเขียวทางตะวันตกของแมนเชสเตอร์ แต่การประมูลก็ตกไปเมื่อแอตแลนตาได้เป็นเมืองเจ้าภาพ อีก 4 ปีต่อมา สภาเทศบาลฯ ก็ได้ยื่นประมูลเป็นเจ้าภาพโอลิมปิกฤดูร้อน 2000 แต่ครั้งนี้มุ่งตำแหน่งสนามกีฬาไปที่รกร้างทางตะวันออกของศูนย์กลางเมือง 1.6 กิโลเมตร (0.99 ไมล์) บริเวณเหมืองร้างแบรดฟอร์ดโคลเลียรี  หรือรู้จักในชื่อ อีสต์แลนส์ การเปลี่ยนสถานที่ของสภาเทศบาลฯ เกิดจากการออกกฎหมายผลักดันในการบูรณะเขตเมือง ซึ่งได้รับการสนับสนุนจากหลายโครงการ รัฐบาลมีส่วนในการหาเงินและทำความสะอาดสถานที่ของอีสต์แลนส์ ในปี ค.ศ. 1992

ในเดือนกุมภาพันธ์ ค.ศ. 1993 สภาเทศบาลฯ ได้เปิดประมูลรับแบบของสนามกีฬา 80,000 ที่นั่ง อีกแบบ โดยได้บริษัทอารัป เป็นผู้ดูแลงาน บริษัทได้ช่วยเลือกอีสต์แลนด์เป็นสถานที่ก่อสร้างด้วย ต่อมาในเดือนตุลาคม ค.ศ. 1993 กำหนดให้ซิดนีย์เป็นเมืองเจ้าภาพจัดการแข่งขัน ในปีต่อมาแมนเชสเตอร์ได้เสนอแบบเดียวให้กับโครงการปรับปรุงเมืองในช่วงสหัสวรรษ มิลเลนเนียมคอมมิสชัน โดยเสนอชื่อเป็น "มิลเลนเนียมสเตเดียม" แต่โครงการนี้ก็ตกไป ต่อมาสภาเทศบาลฯ ยังคงเสนอประมูลเจ้าภาพกีฬาเครือจักรภพ 2002 เป็นอีกครั้งที่ได้เสนอในพื้นที่เดิม และผังแบบจากการประมูลโอลิมปิกฤดูร้อน 2000 และครั้งนี้ก็ประมูลสำเร็จ ในปี ค.ศ. 1996 แบบสนามกีฬาเดียวกันนี้ที่ใช้ในการแข่งขันกับสนามกีฬาเวมบลีย์ ในการหาทุนในการสร้างสนามกีฬาแห่งชาติแห่งใหม่ แต่งบก็ถูกใช้ในการพัฒนาเวมบลีย์แทน

การดัดแปลงสนาม

หลังจากประสบความสำเร็จในการจัดแข่งขันกีฬาในกีฬาเครือจักรภพ 2002 แนวคิดที่จะเปลี่ยนสนามกีฬามาเป็นสนามฟุตบอลนั้นก็ได้รับเสียงวิจารณ์จากนักกีฬาอย่าง โจนาทาน เอดเวิดส์ และเซบาสเตียน โค เนื่องจากสหราชอาณาจักรขาดแคลนสนามแข่งขันกรีฑา สภาเทศบาลฯ ตั้งใจไว้ว่าจะคงลู่วิ่งไว้และจะติดตั้งที่นั่งที่ถอดได้หลังจากการแข่งขันกีฬาเครือจักรภพ โดยข้อเสนอที่ได้รับอนุญาต มีที่นั่งราว 60,000 ที่นั่ง แต่ต้องใช้งบประมาณราว 50 ล้านปอนด์ เมื่อเปรียบเทียบกับงบ 22 ล้านปอนด์ สำหรับการรื้อลู่วิ่งและมีความจุเพียง 48,000 ที่นั่ง บริษัทสถาปนิก อารัป เชื่อว่าจากในประวัติศาสตร์นั้น แสดงให้เห็นว่า การเก็บลู่วิ่งสำหรับการปรับเปลี่ยนมาเป็นสนามฟุตบอล โดยมากแล้วลู่วิ่งจะไม่ค่อยได้ใช้งาน และไม่เหมาะสมกับสนามฟุตบอล และยกตัวอย่างสนามอย่างเช่น สตาดีโอเดลเลอัลปี และสนามโอลิมปิก สเตเดียม มิวนิค ที่ทั้งสโมสรฟุตบอลยูเวนตุสและบาเยิร์น มิวนิค ได้ย้ายมายังสนามกีฬาแห่งใหม่ไม่ถึง 40 ปีหลังใช้งานต่อ สภาเทศบาลฯ ไม่อยากให้เกิดโครงการที่ดูแลรักษายาก ดังนั้น เพื่อให้สนามกีฬามีอายุการใช้งานในด้านงบการเงิน จึงดำเนินงานเพิ่มเติมโดยเปลี่ยนสนามและลู่วิ่งมาเป็นสนามกีฬาฟุตบอล ได้มีการรื้อลู่วิ่งออกและนำไปใช้ในสนามกีฬาแห่งอื่น  ได้มีการทำชั้นระดับดินให้ต่ำลงมาเพื่อให้สามารถเพิ่มที่นั่งได้ และรื้ออัฒจันทร์ชั่วคราวออก แทนที่ด้วยโครงสร้างถาวร ในรูปแบบการออกแบบคล้ายกันบริเวณปลายของทิศใต้ งานนี้ใช้เวลาในการทำงานเกือบปี และเพิ่มที่นั่งอีก 10,000 ที่นั่ง สโมสรฟุตบอลแมนเชสเตอร์ซิตีได้ใช้สนามกีฬาแห่งนี้เป็นสนามกีฬาเหย้าเมื่อเริ่มฤดูกาล 200304 ใช้งบประมาณในการปรับปรุงสนามเกินงบไป 40 ล้านปอนด์ โดยปรับเปลี่ยนในส่วนทางเดิน สนามแข่ง และที่นั่ง ที่ได้งบประมาณมาจากสภาเทศบาล 22 ล้านปอนด์และเพิ่มที่จำหน่ายเครื่องดื่ม ร้านอาหาร และพื้นที่สันทนาการอื่น งบประมาณส่วนนี้มาจากสโมสร ใช้งบ 20 ล้านปอนด์


อัฒจันทร์

ทางเข้าหลัก
ภายในสนามกีฬามีรูปร่างชามรูปไข่ ด้านยาวมีที่นั่ง 3 ชั้น และมีที่นั่ง 2 ชั้นที่ด้านกว้าง เป็นที่นั่งยาวต่อเนื่อง แต่ละด้านของอัฒจันทร์มีการตั้งชื่อตามรูปแบบทั่วไปของสนามฟุตบอล เริ่มแรกแต่ละด้านของอัฒจันทร์มีชื่อตามทิศ (อัฒจันทร์ทิศเหนือ และ อัฒจันทร์ทิศใต้ ที่ด้านกว้าง และอัฒจันทร์ทิศตะวันออก และอัฒจันทร์ทิศตะวันตก ทีด้านยาว)  ในเดือนกุมภาพันธ์ ค.ศ. 2004 หลังจากได้รับการลงคะแนนเสียงจากแฟนฟุตบอล อัฒจันทร์ทิศตะวันตก เปลี่ยนชื่อมาเป็น อัฒจันทร์โคลิน เบลล์ เพื่อเป็นเกียรติให้กับอดีตนักฟุตบอล  อัฒจันทร์ทิศใต้ เปลี่ยนชื่อมาเป็น คีย์ 103 ตามชื่อผู้สนับสนุนตั้งแต่ปี ค.ศ. 2003-2006  ถึงแม้ว่าจะไม่ได้รับการสนับสนุนจากแฟนฟุตบอลสำหรับชื่อนี้

บางส่วนของอัฒจันทร์ทิศเหนือออกแบบมาสำหรับเป็นอัฒจันทร์ครอบครัว ที่มากับเด็ก ๆ โดยตั้งชื่อว่า อัฒจันทร์แฟมิลีสแตนด์ แต่ตั้งแต่ฤดูกาล 201011 ทั้งหมดของอัฒจันทร์ทิศเหนือก็จัดสรรให้สำหรับเป็นอัฒจันทร์สำหรับครอบครัว ส่วนอัฒจันทร์ทิศตะวันออกเป็นที่รู้จักอย่างไม่เป็นทางการว่า คิปแปกซ์ สอดคล้องกับอัฒจันทร์ที่สนามเมนโรด  ส่วนผู้ชมของทีมเยือน จะนั่งที่อัฒจันทร์ทิศใต้

สนามแข่ง

สนามแข่งเป็นไปตามมาตรฐานของยูฟ่า คือ 105 × 68 เมตร (115 × 74 หลา) พื้นสนามเป็นสนามหญ้าจริง ทำให้แข็งแรงยิ่งขึ้นโดยเส้นใยประดิษฐ์ ด้วยการใช้หญ้าเดสโซ  ระบบแสงสว่างใช้ไฟ 2000-วัตต์ 218 ดวง บริเวณที่ไม่มีที่นั่งที่แต่ละมุมของสนาม มีช่องระบายอากาศที่ถอดย้ายได้ ให้ลมไหลผ่านลงสนาม สนามกีฬานี้ถือว่าเป็นหนึ่งในสนามกีฬาฟุตบอลอังกฤษที่ดีที่สุด ได้รับการเสนอชื่อ 5 ครั้ง ใน 9 ฤดูกาลล่าสุด ในการเป็นสนามแข่งพรีเมียร์ลีกที่ดีที่สุด และได้รับรางวัลในฤดูกาล 201011 นอกจากนั้นยังได้รับรางวัลอื่นอีกเช่นกัน

Stadium info : Liverpool

"Anfield"


ผู้ดำเนินการ : สโมสรฟุตบอลลิเวอร์พูล
พื้นสนาม หญ้า
ความจุ : 54,157

History : 

สนามฟุตบอลแอนฟีลด์ (อังกฤษ: Anfield) เป็นสนามฟุตบอลเหย้าของสโมสรฟุตบอลลิเวอร์พูล ประเทศอังกฤษ ตั้งอยู่ในเขตแอนฟีลด์ เมืองลิเวอร์พูล สร้างเสร็จในปี ค.ศ. 1884 ติดกับแสตนลีย์ ปาร์ค เริ่มแรกเป็นสนามเหย้าของสโมสรฟุตบอลเอฟเวอร์ตัน ก่อนที่เอฟเวอร์ตันย้ายสนามไปกูดิสันพาร์ค หลังจากขัดแย้งในเรื่องค่าเช่าพื้นที่สนามกับจอห์น โฮลดิง ผู้เป็นเจ้าของแอนฟีลด์ หลังจากนั้นโฮลดิ้งได้ก่อตั้งสโมรสรลิเวอร์พูลขึ้นเมื่อปี 1892 และแอนด์ฟีลด์จึงกลายเป็นสนามเหย้าของลิเวอร์พูลนับแต่นั้นมา ในขณะนั้นมีความจุของสนามทั้งสิ้น 20,000 คน ถึงแม้จะมีเพียงผู้ชม 100 คนเข้าชมการแข่งขันครั้งแรกของลิเวอร์พูลที่แอนฟีลด์

ในปี 1906 อัฒจันทร์ฝั่งยืนที่อยู่ปลายด้านหนึ่งของพื้นดินถูกเปลี่ยนชื่ออย่างเป็นทางการซึ่งคนท้องถิ่นจะรู้จักกันในนาม สปิออน ค็อป หลังจากที่เนินเขาแห่งหนึ่งใน นาทาล ประเทศแอฟริกาใต้ โดยเกิดเหตุการณ์การทำสงครามบัวร์ขึ้นในช่วงปี ค.ศ. 1900 อังกฤษได้ส่งทหารไปกว่า 300 นาย โดยส่วนใหญ่เป็นชาวเมืองลิเวอร์พูล เมื่อถึงจุดสูงสุดอัฒจันทร์สามารถบรรจุผู้ชมได้ถึง 28,000 คน และเป็นอัฒจันทร์ยืนชั้นเดียวที่หญ่ที่สุดในโลก สนามกีฬาหลายแห่งในประเทศอังกฤษได้จึงตั้งชื่อ สปิออน ค็อป เป็นชื่อของอัฒจันทร์ แต่แอนฟีลด์เป็นสนามที่ใหญ่ที่สุดในตอนนั้น ซึ่งสามารถบรรจุผู้สนับสนุนได้มากกว่าพื้นที่สนามฟุตบอลทั้งหมด

แอนฟีลด์สามารถรองรับผู้สนับสนุนได้สูงสุดกว่า 60,000 คนและมีความจุ 55,000 ที่นั่ง จนกระทั่งทศวรรษ 1990 เทเลอร์ รีพอร์ต รายงานเหตุการณ์การถล่มของอัฒจันทร์ที่สนามฮิลส์โบโร่ พรีเมียร์ลีกจึงมีคำสั่งให้ทุกสนามเปลี่ยนจากอัฒจันทร์ยืนเป็นแบบนั่งทั้งหมดในฤดูกาล 1993-94 ลดความจุลงเหลือ 45,276 ที่นั่ง จากผลการวิจัยของเทอลร์ รีพอร์ต ได้ผลักดันให้มีการสร้างอัฒจันทร์ใหม่ทางด้าน Kemlyn Road Stand ในปี ค.ศ. 1992 ซึ่งตรงกับการครบรอบ 100 ปีของการก่อตั้งสโมสร จึงตั้งชื่อว่า เซนเทเนรีสแตนด์ เป็นชั้นพิเศษที่ถูกเพิ่มในฝั่งถนนแอนฟีลด์ปลายปี ค.ศ. 1998 ซึ่งต่อไปจะเพิ่มความจุของภาคพื้นดินแต่เกิดปัญหาขึ้นหลังจากการเปิดใช้ ชุดของเสาสนับสนุนและตอม่อถูกเสริมเข้าไปเพื่อสร้างความมั่งคงให้กับชั้นบนสุดของอัฒจันทร์ หลังจากการเคลื่อนไหวของชั้นอัฒจันทร์ได้ถูกรายงานช่วงเริ่มต้นของฤดูกาล 1999-2000

เนื่องจากข้อจำกัดในการขยายความจุที่นั่งของแอนฟีลด์ ลิเวอร์พูลได้ประกาศแผนเสนอให้ย้ายไปสนามแสตนลีย์ พาร์ค เมื่อเดือนพฤษภาคม ค.ศ. 2002 แผนนี้ถูกอนุมัติในเดือนกรกฎาคม ค.ศ. 2004 และในเดือนกันยายน ค.ศ. 2006 สภาเมืองลิเวอร์พูลได้อนุมัติสัญญาเช่า 999 ปี ทำให้ลิเวอร์พูลได้รับอนุญาตให้สร้างสนามแห่งใหม่ใกล้สแตนลีย์พาร์กภายหลังจากการซื้อสโมสรโดยจอร์จ จิลเลตต์ และทอม ฮิคส์ ในเดือนกรกฎาคมค.ศ. 2007 สโมสรได้นำเสนอแผนใหม่ที่ออกแบบและเสนอโดยบริษัท HKS เมืองดัลลัส สหรัฐอเมริกา โดยปรับความจุเป็น 76,000 ที่นั่ง มูลค่าการลงทุน 300 ล้านปอนด์ ต่อมาเดือนสิงหาคม ค.ศ. 2008 เนื่องจากมูลค่าเหล็กกล้าในตลาดระหว่างประเทศสูงขึ้น ทำให้มูลค่าการลงทุนต้องเพิ่มขึ้นเป็น 400 ล้านปอนด์ ฮิคส์และจิลเล็ตต์จึงตัดสินใจยุติการสร้าง

วันเสาร์ที่ 11 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2560

Stadium info : Arsenal

Posted by

"Emirates Stadium"




ที่ตั้ง : แอชเบอร์ตันโกรฟ, ลอนดอน
เปิดใช้ : กรกฎาคม ค.ศ. 2006
เจ้าของ : อาร์เซนอล
พื้นผิว : หญ้า,105 × 68 เมตร
มูลค่าก่อสร้าง :430 ล้านปอนด์
สถาปนิก : HOK Sport
วิศวกรโครงสร้าง : Buro Happold
วิศวกรบริการ : Buro Happold
ชื่อเดิม : แอชเบอร์ตันโกรฟ
ผู้ดูแล: สโมสรฟุตบอลอาร์เซนอล
ความจุที่นั่ง : 60,355


History : 


เอมิเรตส์สเตเดียม (Emirates Stadium) หรือ สนามกีฬาเอมิเรตส์ คือ สนามฟุตบอลที่มีที่ตั้งอยู่ที่แอชเบอร์ตันโกรฟในฮอลโลเวย์ (Holloway) ลอนดอนเหนือ และเป็นสนามเหย้าของสโมสรฟุตบอลอาร์เซนอล ตั้งแต่เปิดใช้งานเมื่อเดือนกรกฎาคม ปี ค.ศ. 2006 สนามแห่งนี้อัฒจรรย์จะเป็นเก้าอี้ทั้งหมด 60,355 ที่นั่ง ซึ่งนับว่าเป็นสนามฟุตบอลที่ใหญ่ที่สุดเป็นอันดับ 2 ของพรีเมียร์ลีกตามหลังเพียงสนามโอลด์แทรฟฟอร์ด และเป็นสนามกีฬาที่ใหญ่เป็นอันดับ 3 ในลอนดอนรองจากสนามเวมบลีย์และสนามทวิกเคนแฮม ในช่วงวางแผนและกำลังก่อสร้างอยู่นั้น เดิมสนามนี้เป็นที่รู้จักในชื่อ แอชเบอร์ตันโกรฟ ก่อนที่จะมีการใช้ชื่อตามข้อตกลงของสายการบินเอมิเรตส์ ผู้สนับสนุนการก่อสร้างสนามนี้ เมื่อเดือนตุลาคม ปี 2004 มูลค่าการก่อสร้างสนามอยู่ที่ 430 ล้านปอนด์


Stadium :

สนามแห่งนี้มีอัฒจันทน์ที่มีหลังคารายล้อมทั้ง 4 ทิศ แต่ที่พื้นสนามไม่มีหลังคาคลุม ออกแบบโดยสถาปัตยกรรม HOK Sport ตรวจสอบโครงสร้างทางวิศวกรรมโดยบริษัท Buro Happold ผู้ควบคุมการสร้างคือ เซอร์ โรเบิร์ต แมคอัลไพน์ ตั้งอยู่ในพื้นที่ของเขตอุตสาหกรรมแอชเบอร์ตันโกรฟเดิม ห่างจากสนามไฮบิวรี สนามเดิมของอาร์เซนอลเพียงไม่กี่ร้อยเมตร

อัฒจันทน์ครึ่งบนของสนามจุได้ 26,646 ที่นั่ง และครึ่งล่างจุได้ 24,425 ที่นั่ง ที่นั่งทั้งหมดเป็นแบบมาตรฐาน ในฤดูกาล 2006-07 นั้น ส่วนใหญ่แล้วตั๋วเข้าชมสำหรับผู้ใหญ่จะมีราคาประมาณ 32 ปอนด์ถึง 66 ปอนด์ แต่ตั๋วสำหรับเด็กจะมีราคาเพียง 13 ปอนด์เท่านั้น แต่ในแมตช์สำคัญบางแมตช์ ตั๋วเข้าชมอาจจะมีราคาสูงถึง 46-94 ปอนด์[4] ตั๋วสำหรับเข้าชมทั้งฤดูกาลมีราคาอยู่ในช่วง 885 ปอนด์ถึง 1,825 ปอนด์

อัฒจันทร์ชั้นกลาง หรือที่รู้จักกันดีในชื่อ "ระดับสโมสร" (Club Level) คะมีราคาสูงและยังมีชั้นบ๊อกซ์รวมอยู่ในอัฒจันทน์ระดับนี้ด้วย สามารถจุผู้ชมประมาณ 7,139 ที่นั่ง ในฤดูกาล 2006-07 ราคาตั๋วของชั้นนี้มีราคาตั้งแต่ 2,500 ปอนด์จนถึง 4,750 ปอนด์ต่อฤดูกาล ซึ่งเจ้าของตั๋วสามารถเข้าชมเกมลีกในบ้านได้ทั้งหมดรวมถึงเกม ยูฟ่าแชมเปียนส์ลีก, เอฟเอคัพ และ คาร์ลิ่งคัพ ที่อาร์เซนอลได้เล่นในบ้านด้วย แต่ตั๋วทุกใบจำหน่ายหมดตั้งแต่เดือนพฤษภาคม ค.ศ. 2006 แล้ว

ถัดจากชั้นนี้ขึ้นไป จะมีชั้นเล็กๆที่เป็นบ๊อกซ์ขนาดความจุ 10, 12 และ 15 ที่นั่งจำนวน 150 บ๊อกซ์ ชั้นนี้จึงสามารถจุผู้ชมได้ทั้งหมด 2,222 คน ราคาของชั้นบ๊อกซ์เริ่มต้นที่ 65,000 ต่อปีรวมภาษีมูลค่าเพิ่มแล้ว สามารถนำตั๋วนี้มาเข้าชมเกมลีกในบ้านและเกมยูฟ่าแชมเปียนส์ลีก เอฟเอคัพ และคาร์ลิ่งคัพที่อาร์เซนอลได้เล่นในบ้านด้วย บริเวณที่ยอดเยี่ยมที่สุดในสนามแห่งนี้สำหรับการชมเกมรู้จักกันดีในชื่อ "ไดมอนด์คลับ" (Diamond Club) จัดไว้สำหรับแขกรับเชิญเท่านั้น มีราคาเพียง 25,000 ปอนด์ต่อที่นั่ง

ผู้ที่มีตั๋วเข้าชมสามารถใช้บริการพื้นที่ส่วนตัวพิเศษ ภัตตาคาร และบาร์ได้อีกด้วย และยังมีสิทธิ์ในการจอดรถในที่จอดรถของสนาม สมาชิกยังมีสิทธิ์ได้ลุ้นไปชมเกมยุโรปด้วยเครื่องบินลำเดียวกับที่นักเตะใช้เดินทาง

เนื่องจากว่าตั๋วเป็นที่ต้องการของแฟนบอลอย่างมากและมีค่าสูงตามราคาค่าครองชีพของแฟนบอลในลอนดอน อาร์เซนอลจึงสามารถสร้างรายได้มหาศาลจากตั๋วเข้าชมชั้นพรีเมียมและชั้นบ๊อกซ์ ซึ่งเป็นตัวเลขที่ใกล้เคียงกับรายได้ที่ได้จากที่นั่งทั้งหมดที่สนามไฮบิวรีเลยทีเดียว

วันศุกร์ที่ 10 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2560

Under Construction







This site is under construction.
Sorry for inconvenience.